Stacks Image 8
21,517

ฟอนต์ JS เป็นฟอนต์ที่สร้างขึ้นโดย JS Technology ซึ่งเป็นบริษัทที่คุณแสวง ตันติราพันธ์ ผู้ล่วงลับ (S) กับนายแพทย์ภาณุทัต เตชะเสน หรือ คุณหมอจิมมี่ (J) ร่วมกันก่อตั้งขึ้นมา เพื่อพัฒนาโปรแกรม Desktop Publishing ภาษาไทย และ ระบบภาษาไทยสำหรับ Windows เป็นเจ้าแรกของเมืองไทย โดยมี บริษัท 315 จำกัด เป็นผู้ทำตลาด โดยฟอนต์ตระกูล JS ประกอบด้วยฟอนต์จำนวนมากกว่า ๑๐๐ ฟอนต์ ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย

กำเนิดฟอนต์ย้อนไปตั้งแต่การสร้าง Desktop Publishing ภาษาไทยตัวแรกที่ใช้ในระบบ PC ชื่อ Orchid (ชื่อภาษาจีนของภรรยาของนายแพทย์ภาณุทัต เตชะเสน แปลว่า กล้วยไม้หิมะ) สร้างขึ้นโดยนายแพทย์ภาณุทัต เตชะเสนและแพทย์หญิงบุษยา เตชะเสน (ภรรยา) ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาแพทย์อยู่ด้วยกันทั้งคู่ โดยนายแพทย์ภาณุทัต เตชะเสน เป็นคนเขียนโปรแกรม ส่วนภรรยา เป็นคนทำฟอนต์ ชื่อฟอนต์ส่วนใหญ่จะตั้งตามชื่อ ละครทีวี, ตัวละคร และ ดารา เพราะสมัยนั้นยังเป็นนักศึกษากันอยู่ เลยดูทีวีไปทำงานไป

ในเวอร์ชั่นแรกๆ ฟอนต์เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นในแบบ Bitmap ฟอนต์ แล้วจึงพัฒนาขึ้นเป็น Vector Font ในภายหลัง (Adobe Type 1 และ TrueType ในเวลาต่อมา) โดยเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ต่อมามีการปรับปรุงฟอนต์ใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ โดย P-chanSoft

หลังจากที่ไมโครซอฟต์เริ่มทำภาษาไทยใน Windows ใช้เอง บริษัท 315 จำกัด ก็ปิดตัวลง และคุณแสวงเสียชีวิตไป จึงได้อุทิศฟอนต์ JS นี้ให้เป็น public domain และมีผู้นำไปปรับปรุงอีกหลายรอบหลายเวอร์ชั่น กลายเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของการพัฒนาฟอนต์ในเมืองไทย

ที่มาข้อมูล : กำเนิดฟอนต์ตระกูล JS และการกลับมาอีกครั้งในรูปแบบใหม่ โดย Panutat Jimmy Tejasen (๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖)

JS Wannaree
ปีที่เผยแพร่ : พ.ศ. ๒๕๔๙
เงื่อนไข : อนุญาตให้ใช้งานฟรี ตามสัญญาอนุญาต GPL Version 2
ออกแบบโดย : JS Technology
ปีที่เผยแพร่ : พ.ศ. ๒๕๔๙  เงื่อนไข : อนุญาตให้ใช้งานฟรี ตามสัญญาอนุญาต
ออกแบบโดย ภาณุทัต เตชะเสน | บุษยา เตชะเสน
JS Wannaree Italic
JS Wannaree Italic
 
A
B
C
D
E
F
G
H
I
J
K
L
M
N
O
P
Q
R
S
T
U
V
W
X
Y
Z
a
b
c
d
e
f
g
h
i
j
k
l
m
n
o
p
q
r
s
t
u
v
w
x
y
z
?
!
%
(
)
[
]
{
}
/
#
@
&
$
0
1
2
3
4
5
6
7
8
9
 
A
B
C
D
E
F
G
H
I
J
K
L
M
N
O
P
Q
R
S
T
U
V
W
X
Y
Z
a
b
c
d
e
f
g
h
i
j
k
l
m
n
o
p
q
r
s
t
u
v
w
x
y
z
?
!
%
(
)
[
]
{
}
/
#
@
&
$
0
1
2
3
4
5
6
7
8
9
 
ภาษา คือ เครื่องมือสำคัญที่ทำให้ความเป็นชาติดำรงอยู่ได้ ภาษา คือ สะพานเชื่อมตัวตนของชนชาติ จากอดีตสู่ปัจจุบัน ตัวพิมพ์ คือ เครื่องมือสำคัญที่ทำให้ภาษาดำรงอยู่ได้ แบบตัวพิมพ์ที่พัฒนาทันกระแสการเปลี่ยนแปลง คือ โครงสร้างแกร่งของสะพานที่เชื่อมตัวตนของชาติ จากปัจจุบันสู่อนาคต