Stacks Image 8
19,646

ผลกระทบจากปัญหาลิขสิทธิ์แบบตัวพิมพ์ไทยต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะปัญหาความไม่เข้าใจในการใช้แบบตัวพิมพ์ หรือไม่เข้าใจถึงปัญหาของลิขสิทธิ์ว่า แบบตัวพิมพ์มีลิขสิทธิ์หรือไม่ ซึ่งก็ยังไม่มีใครที่จะกล้าฟันธง 100% เจ้าของแบบตัวพิมพ์ก็กล่าวอ้างว่าแบบตัวพิมพ์มีลิขสิทธิ์ โดยยกเหตุผลต่างๆ มาประกอบ เช่น แบบตัวพิมพ์ที่สร้างขึ้นถือว่าเป็นซอฟต์แวร์ เมื่อเป็นซอฟต์แวร์ก็ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ได้ ส่วนฝ่ายผู้ใช้ก็มองว่า แบบตัวพิมพ์เป็นตัวอักษรซึ่งเป็นสมบัติของชาติ ไม่ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ใดผู้หนึ่ง นอกจากนี้ ยังมีความกังวลของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการพิมพ์เกี่ยวกับ ผู้ที่ต้องรับผิดต่อลิขสิทธิ์แบบตัวพิมพ์ ใครคือผู้ที่ต้องรับผิดในการใช้แบบตัวพิมพ์ ถ้าแบบตัวพิมพ์นั้นๆ มีลิขสิทธิ์ จะเป็นผู้จ้างงาน (เจ้าของงาน), บริษัทรับออกแบบ, ร้านแยกสี หรือบริษัทรับจ้างพิมพ์ ใครกันแน่ต้องรับผิด ก็ยังเป็นคำถามที่ต้องหาข้อสรุปกันต่อไป

จากปัญหาข้างต้นทำให้สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ ได้รับการร้องเรียนจากสมาชิกเพื่อให้สหพันธ์ฯ เข้ามาดูแลปัญหาเกี่ยวกับแบบตัวพิมพ์ไทย ทางสหพันธ์ฯ จึงมีการประชุมและปรึกษาหารือในประเด็นปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับแบบตัวพิมพ์ โดยมีข้อสรุปในการบรรเทาปัญหาแบบตัวพิมพ์ในเบื้องต้นคือ สนับสนุนให้มีการพัฒนาแบบตัวพิมพ์ไทย เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการพิมพ์ ซึ่งเป็นแบบตัวพิมพ์ที่พัฒนาเพื่อแจกจ่ายให้ใช้ฟรี

สำหรับรูปแบบของการพัฒนาแบบตัวพิมพ์นั้น ได้นำเอาแบบตัวพิมพ์รุ่นเก่ามาพัฒนาให้เป็นแบบตัวพิมพ์รุ่นใหม่ชนิด OpenType และมีการเข้ารหัสแบบ Unicode การนำเอาแบบตัวพิมพ์รุ่นเก่ามาพัฒนานั้น มีความสอดคล้องและเป็นความต้องการของผู้ใช้ในอุตสาหกรรมการพิมพ์เรียกร้องต้องการให้นำเอาแบบตัวพิมพ์รุ่นเก่าที่มีการใช้กันอยู่อย่างแพร่หลาย นำกลับมาพัฒนาปรับปรุงให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ รองรับการใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยขึ้น หลายคนยังกลัวว่า แบบตัวพิมพ์เก่าๆ เหล่านี้ หากไม่มีใครนำไปพัฒนาต่อยอด ก็จะถูกปล่อยทิ้งให้ตายไปและหายไปจากการนำมาใช้งานออกแบบสิ่งพิมพ์ เสียดายภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่าที่ได้ออกแบบตัวพิมพ์เหล่านี้ไว้ ดังนั้น คนรุ่นใหม่ที่เข้าใจเทคโนโลยีก็ไม่ควรจะนิ่งนอนใจ ต้องนำแบบตัวพิมพ์รุ่นเก่าๆ ทั้งหลายมาพัฒนาให้เป็นแบบตัวพิมพ์รุ่นใหม่ที่เป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล ดังคำกล่าวที่ว่า "ภาษาคือเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ชาติดำรงอยู่ได้ ภาษาคือสะพานเชื่อมตัวตนของชนชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน ตัวพิมพ์คือเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ภาษาดำรงอยู่ได้ แบบตัวพิมพ์ที่พัฒนาทันกระแสการเปลี่ยนแปลง คือโครงสร้างแกร่งของสะพานที่เชื่อมโยงตัวตนของชาติ จากปัจจุบันสู่อนาคต"

แบบตัวพิมพ์ในโครงการพัฒนาแบบตัวพิมพ์นี้ เป็นการคัดเลือกจากแบบตัวพิมพ์เก่าๆ ที่ไม่ได้รับการพัฒนาต่อแล้ว โดยจะส่งให้ผู้พัฒนาแบบตัวพิมพ์นำไปพัฒนาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยที่จะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบคุณภาพของแบบตัวพิมพ์ให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง และจะดำเนินการเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ เพื่อให้บุคคลทั่วไปนำไปใช้ได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

ที่มาข้อมูล : ข่าวประชาสัมพันธ์ โครงการพัฒนาแบบตัวพิมพ์ไทย. สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์. (2553).

TF Manawika
ปีที่เผยแพร่ : พ.ศ. ๒๕๕๑
เงื่อนไข : อนุญาตให้ใช้งานฟรี ตามสัญญาอนุญาต OFL 1.1
ปรับปรุงจาก : ฟอนต์ EACManawika
ปีที่เผยแพร่ : พ.ศ. ๒๕๕๑  เงื่อนไข : อนุญาตให้ใช้งานฟรี ตาม
ปรับปรุงจากฟอนต์ EACManawika
๑ ใน ๑๓ ฟอนต์จาก โครงการพัฒนาแบบตัวพิมพ์ โดย สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์
TF Manawika Regular
TF Manawika Regular
 
A
B
C
D
E
F
G
H
I
J
K
L
M
N
O
P
Q
R
S
T
U
V
W
X
Y
Z
a
b
c
d
e
f
g
h
i
j
k
l
m
n
o
p
q
r
s
t
u
v
w
x
y
z
?
!
%
(
)
[
]
{
}
/
#
@
&
$
0
1
2
3
4
5
6
7
8
9
 
A
B
C
D
E
F
G
H
I
J
K
L
M
N
O
P
Q
R
S
T
U
V
W
X
Y
Z
a
b
c
d
e
f
g
h
i
j
k
l
m
n
o
p
q
r
s
t
u
v
w
x
y
z
?
!
%
(
)
[
]
{
}
/
#
@
&
$
0
1
2
3
4
5
6
7
8
9
 
ภาษา คือ เครื่องมือสำคัญที่ทำให้ความเป็นชาติดำรงอยู่ได้ ภาษา คือ สะพานเชื่อมตัวตนของชนชาติ จากอดีตสู่ปัจจุบัน ตัวพิมพ์ คือ เครื่องมือสำคัญที่ทำให้ภาษาดำรงอยู่ได้ แบบตัวพิมพ์ที่พัฒนาทันกระแสการเปลี่ยนแปลง คือ โครงสร้างแกร่งของสะพานที่เชื่อมตัวตนของชาติ จากปัจจุบันสู่อนาคต