Stacks Image 8
78,925

ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้จัดโครงการประกวดผลงานสร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์เพิ่มขึ้น เป็นการสร้างงาน สร้างทักษะ และ สร้างตลาดทางด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและผู้บริโภคที่สามารถเลือกใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์ที่มีความหลากลายมากขึ้นต่อไป

ฟอนต์ในโครงการประกวดครั้งนี้ จะมีอยู่ ๑๐ ฟอนต์ซึ่งเป็นฟอนต์แบบธรรมดา ไม่มีฟอนต์แบบอาลักษณ์อยู่เลย ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ได้แรงบันดาลใจมาจากเจ้าคุณพ่อของท่านคือ พระยานิติศาสตรไพศาลย์ (วัน จามรมาน) ผู้ซึ่งเคยเป็นเจ้ากรมพระอาลักษณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ว่าควรสนับสนุนให้มีการใช้ฟอนต์แบบอาลักษณ์เพื่อเป็นการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมไทย ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน จึงเสนอขอให้เพิ่มการประกวดอีก ๓ ฟอนต์ที่เป็นแบบอาลักษณ์ ได้แก่ ฟอนต์ชาร์มออฟเอยู, ฟอนต์ศรีศักดิ์ และ ฟอนต์จามรมาน ซึ่งตกลงมอบลิขสิทธิ์แบบไม่เพียงแต่ผู้เดียว (Non-Exclusive) ให้สํานักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) และกรมทรัพย์สินทางปัญญา นําไปแจกฟรีได้

ชื่อฟอนต์ จามรมาน นี้เป็นนามสกุลพระราชทาน ซึ่งหนังสือนามสกุลพระราชทาน ๖๔๓๒ สกุล หน้า ๔๒๔ ลําดับที่ ๒๙๒๔ อํามาตย์เอก พระไชยศาสตร์ราชสภาบดี (เชื้อ) อธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลนครชัยศรี พี่ นายวัน เนติบัณฑิตสยาม น้อง กับ หมื่นหาญใจอาจ (ภู่) พระราชทานนามสกุล ว่า “จามรมาน”

คำว่า จามรมาน นี้ “มาน” หมายถึง มานะ จึงอาจจะแปลได้ว่า มีความมานะเหมือนแส้จามรที่คอยปัดเป่ามิให้มีริ้นไรไต่ตอมองค์พระผู้ทรงพระกรุณาพระราชทานนามสกุลและพระบรมวงศานุวงศ์ นามสกุล จามรมาน นี้มีผู้ใช้หลายร้อยคน โดยสมัยโบราณก็มีพระยานิติศาสตรไพศาลย์ซึ่งเคยเป็นรัฐมนตรียุติธรรม รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี (พระยาพหลพลพยุหเสนา) กับตําแหน่งที่นายกดํารงอยู่ทั้งหมดอยู่ ๖ เดือน แล้วก็มีพระมนูภาณวิมลศาสตร์ ซึ่งเคยเป็นรัฐมนตรียุติธรรมและรัฐมนตรีคลัง ส่วนสมัยใหม่ก็มี ศ.ดร. ศรีศักดิ์เป็นข้าราชการระดับสูงสุด คือ ระดับ ๑๑ และเป็นศาสตราจารย์ระดับ ๑๑ คนแรกในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ทุกสาขา เป็นบุรุษคอมพิวเตอร์แห่งเอเชีย บิดาอินเทอร์เน็ตไทย และบิดาอีเลิร์นนิ่งไทย

เนื่องจากแบบตัวอาลักษณ์เดิม คือตัวเขียนลายมือที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการลากหางที่ยาว จึงใช้ภาพรวมนั้นในการตั้งทิศทางในการออกแบบฟอนต์ จามรมาน สิ่งที่ต้องการเพิ่มเติมในตัวพิมพ์นี้คือ มีการเป็นตัวเขียน ที่แต่ละตัวมีบุคลิกลักษณะของตัวนั้นๆ มากกว่าโครงสร้างที่เรียบร้อยจนเกินไป เพื่อให้มีความเป็นลายมือจะเกิดภาพรวมที่มีความร่วมสมัยและจะเกิดการใช้งานที่แตกต่างจากตัวพิมพ์อาลักษณ์เดิมๆ ที่มีอยู่ ที่ถูกนํามาไปใช้เฉพาะในประกาศนียบัตร

ฟอนต์นี้เป็นหนึ่งในโครงการเผยแพร่ฟอนต์ลิขสิทธิ์จากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อแจกจ่ายให้ใช้อย่างเสรี ปราศจากปัญหาด้านลิขสิทธิ์ เป็นความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ และเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย

ที่มาข้อมูล : charm.siamtechu.net

TH Charmonman
ปีที่เผยแพร่ : พ.ศ. ๒๕๕๐
เงื่อนไข : อนุญาตให้ใช้งานฟรี ตามสัญญาอนุญาต
ออกแบบโดย : เอกลักษณ์ เพียรพนาเวช
ปีที่เผยแพร่ : พ.ศ. ๒๕๕๐  เงื่อนไข : อนุญาตให้ใช้งานฟรี ตามเงื่อนไขใน
ออกแบบโดย เอกลักษณ์ เพียรพนาเวช
  • TH Charmonman Regular
    TH Charmonman Regular
     
    A
    B
    C
    D
    E
    F
    G
    H
    I
    J
    K
    L
    M
    N
    O
    P
    Q
    R
    S
    T
    U
    V
    W
    X
    Y
    Z
    a
    b
    c
    d
    e
    f
    g
    h
    i
    j
    k
    l
    m
    n
    o
    p
    q
    r
    s
    t
    u
    v
    w
    x
    y
    z
    ?
    !
    %
    (
    )
    [
    ]
    {
    }
    /
    #
    @
    &
    $
    0
    1
    2
    3
    4
    5
    6
    7
    8
    9
     
    A
    B
    C
    D
    E
    F
    G
    H
    I
    J
    K
    L
    M
    N
    O
    P
    Q
    R
    S
    T
    U
    V
    W
    X
    Y
    Z
    a
    b
    c
    d
    e
    f
    g
    h
    i
    j
    k
    l
    m
    n
    o
    p
    q
    r
    s
    t
    u
    v
    w
    x
    y
    z
    ?
    !
    %
    (
    )
    [
    ]
    {
    }
    /
    #
    @
    &
    $
    0
    1
    2
    3
    4
    5
    6
    7
    8
    9
     
    ภาษา คือ เครื่องมือสำคัญที่ทำให้ความเป็นชาติดำรงอยู่ได้ ภาษา คือ สะพานเชื่อมตัวตนของชนชาติ จากอดีตสู่ปัจจุบัน ตัวพิมพ์ คือ เครื่องมือสำคัญที่ทำให้ภาษาดำรงอยู่ได้ แบบตัวพิมพ์ที่พัฒนาทันกระแสการเปลี่ยนแปลง คือ โครงสร้างแกร่งของสะพานที่เชื่อมตัวตนของชาติ จากปัจจุบันสู่อนาคต

  • TH Charmonman Bold
    TH Charmonman Bold
     
    A
    B
    C
    D
    E
    F
    G
    H
    I
    J
    K
    L
    M
    N
    O
    P
    Q
    R
    S
    T
    U
    V
    W
    X
    Y
    Z
    a
    b
    c
    d
    e
    f
    g
    h
    i
    j
    k
    l
    m
    n
    o
    p
    q
    r
    s
    t
    u
    v
    w
    x
    y
    z
    ?
    !
    %
    (
    )
    [
    ]
    {
    }
    /
    #
    @
    &
    $
    0
    1
    2
    3
    4
    5
    6
    7
    8
    9
     
    A
    B
    C
    D
    E
    F
    G
    H
    I
    J
    K
    L
    M
    N
    O
    P
    Q
    R
    S
    T
    U
    V
    W
    X
    Y
    Z
    a
    b
    c
    d
    e
    f
    g
    h
    i
    j
    k
    l
    m
    n
    o
    p
    q
    r
    s
    t
    u
    v
    w
    x
    y
    z
    ?
    !
    %
    (
    )
    [
    ]
    {
    }
    /
    #
    @
    &
    $
    0
    1
    2
    3
    4
    5
    6
    7
    8
    9
     
    ภาษา คือ เครื่องมือสำคัญที่ทำให้ความเป็นชาติดำรงอยู่ได้ ภาษา คือ สะพานเชื่อมตัวตนของชนชาติ จากอดีตสู่ปัจจุบัน ตัวพิมพ์ คือ เครื่องมือสำคัญที่ทำให้ภาษาดำรงอยู่ได้ แบบตัวพิมพ์ที่พัฒนาทันกระแสการเปลี่ยนแปลง คือ โครงสร้างแกร่งของสะพานที่เชื่อมตัวตนของชาติ จากปัจจุบันสู่อนาคต